เปิดรับสมัคร!! รอบติวสดใบประกอบแพทย์ NL-1 NL-2 MEQ และ OSSE สอบรอบ 2/2566 เหลือ 3 ที่สุดท้ายเท่านั้น **เริ่มเรียน 1 กันยายน 2566 (ลงทะเบียนภายใน 31 ส.ค. 2566)
(สอนสดตัวต่อตัวผ่าน Zoom โดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทางเฉพาะบทผู้จบหลักสูตรการสอนนิสิตแพทย์เฉพาะทาง Medical Education Certificate) ผู้มี Percentile ที่ 99 ของประเทศไทยทั้ง 3 ขั้นตอน Update เนื้อหา NL-1 NL-2 MEQ & OSCE รอบสอบปี 2023 (สอบถามข้อมูล Click )
คอร์สติวสอบใบประกอบแพทย์ NL-1 NL-2 MEQ และ OSCE
ประกอบด้วย NL-1-2 MEQ และ OSCE Course Planning เนื่องจากเป็นการสอบเฉพาะของแพทย์สภาซึ่งแตกต่างจากเนื้อหาชั้น pre-clinic และชั้น clinic ที่มหาวิทยาลัยออกคอร์สติวจึงสำคัญ
1. คอร์ส Professional NL-1 และ NL-2 30 ชั่วโมง ติวตะลุยโจทย์โดยเฉพาะไม่สอนเนื้อหา
2. คอร์ส Experienced NL-1 และ NL-2 50 ชั่วโมง ติวตะลุยโจทย์และเนื้อหาบางบท เลือกได้ 5 บท
3.คอร์ส Non-experienced NL-1 และ NL-2 70 ชั่วโมง ติวเนื้อหาครบทุกบทและตะลุยโจทย์ครบทุกบท
4.คอร์ส MEQ 40 ชั่วโมง ติวเนื้อหา การเขียน Diagnostic และ Advice ผู้ป่วย อธิบายการเกิดโรค แผนการรักษา และให้ทางเลือกคนไข้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา Life style modification อาการที่ต้องรีบมารพก่อนนัด และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การพยากรณ์โรค sympathy และการให้กำลังใจ
สำหรับนักศึกษาแพทย์ทุกสถาบันและทุกชั้นปีทั้งในประเทศไทยและหลักสูตรต่างประเทศ
โดยอาจารย์แพทย์ผู้มีเปอร์เซ็นไทล์ 99 ของประเทศ
ตารางเรียน Course NL-1 NL-2 MEQ และ OSCE ติวสอบใบประกอบแพทย์ ปี 2566
**สอบถามตารางเรียน** : Add LineClick!
จุดอ่อนของนักเรียนแพทย์ที่ทำให้คะแนน NL-1 NL-2 MEQ&OSCE ไม่ถึงเกณฑ์
ตัวอย่างข้อสอบ NL-1 รอบล่าสุด OCT 2022
ตัวอย่าง Slide การสอน MEQ โดยอาจารย์แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ER Specialist
สัดส่วนคะแนนในการที่จะสอบผ่าน NL-1 ต้องได้มากกว่า 159/300 ขึ้นไป
เป็นการติวในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งการสอบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีจุดประสงค์ดังนี้ (สอบใบประกอบแพทย์/NL-1)
โดยการสอบจะจัดสอบ NL-1 , NL-2 และ NL-3 โดยแพทย์สภา สอบ 2 รอบต่อปี ติดตามข้อมูลการสอบใบประกอบแพทย์ได้ที่ https://cmathai.org
- การติวสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน จำนวน 300 ข้อ (NL-1)
- การติวสอบเพื่อประเมินความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก จำนวน 300 ข้อ (NL-2)
- การติวสอบเพื่อประเมินทักษะ และหัตถการทางคลินิก ประกอบด้วย OSCE MEQ Longcase (NL-3)
ตัวอย่างผลงานความสำเร็จ
สำหรับผู้ที่กำลังศึกษา/สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสถาบันการศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ ที่แพทยสภารับรอง
การสมัครสอบใบประกอบแพทย์(ศรว)
ผู้มีความประสงค์จะขอรับการประเมินต้องดำเนินการต่อไปนี้
- ยื่นใบสมัครต่อศูนย์ประเมิน และรับรองความรู้ ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ศูนย์ฯ จะประกาศในแต่ละปี
- ชำระค่าสมัครสอบตามอัตราที่กำหนดในประกาศของศูนย์ฯ ซึ่งศูนย์ฯ จะไม่คืนเงินค่าสมัครให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
.
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
ผู้มีสิทธิ์ขอรับการประเมินจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้สำหรับการเป็นสมาชิกแพทยสภา และคุณสมบัติอื่นดังนี้
- ประเภทที่หนึ่ง เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย หรือในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง
- ประเภทที่สอง เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่แพทยสภารับรอง
- ประเภทที่สาม เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับปริญญาบัตรจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง
.
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับการสอบแต่ละขั้นตอน
- การสอบขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติประเภทที่หนึ่ง หรือสอง หรือสาม สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติประเภทหนึ่งต้องมีใบรับรองจากสถานศึกษาว่าได้ศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ระดับปรีคลินิก) หรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา นับถึงวันที่กำหนดสอบฯ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรระดับปรีคลินิกของสถาบันที่แพทยสภารับรอง
- การสอบขั้นตอนที่สอง เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติประเภทที่หนึ่ง หรือสอง หรือสาม สำหรับผู้มีคุณสมบัติประเภทหนึ่งต้องมีใบรับรองจากสถานการศึกษาว่าได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ระดับคลินิก) มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีการศึกษา นับถึงวันที่กำหนดสอบฯ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรระดับคลินิกของสถาบันที่แพทยสภารับรอง
- การสอบขั้นตอนที่สาม เป็นผู้ที่สอบผ่านขั้นตอนที่หนึ่ง และขั้นตอนที่สองแล้ว โดยแต่ละขั้นตอนสอบผ่านมาแล้วเป็นเวลาไม่เกินเจ็ดปี นับจากวันที่แพทยสภาอนุมัติผลการสอบจนถึงวันที่ยื่นใบสมัครสอบ ถ้าขั้นตอนใดสอบผ่านเกินเจ็ดปีจะต้องสอบขั้นตอนนั้นใหม่ให้ผ่านก่อน
สำหรับผู้มีคุณสมบัติประเภทที่หนึ่งที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทยต้องมีใบรับรองจากสถานการศึกษาว่าได้ศึกษาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (ระดับคลินิก) มาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าภาคการศึกษาระบบทวิภาคหรือเทียบเท่าด้วย นับถึงวันกำหนดสอบ โดยได้ศึกษาครบทุกรายวิชาตามหลักสูตรระดับคลินิกของสถาบันที่แพทยสภารับรอง
สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติประเภทที่สามจะต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในต่างประเทศซึ่งแพทยสภารับรองใบอนุญาตนั้น หากเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่จำเป็นต้องมีในอนุญาตดังกล่าว แต่ต้องมีเอกสารรับรองการปฏิบัติงานหลังปริญญาในฐานะแพทย์ฝึกหัด หรือเทียบเท่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในสถาบันการแพทย์ต่างประเทศ หรือในประเทศไทยที่แพทยสภารับรองโดยการปฏิบัติงานจะต้องเสร็จสิ้นก่อนสมัครสอบ
เอกสารที่ใช้ในการสมัคร : www.cmathai.org